ประเทศอินโดนีเซีย

วันอังคารที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2555

    รายละเอียดของประเทศอินโดนีเซีย


ประเทศอินโดนีเซีย
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สาธารณรัฐอินโดนีเซีย
Republik Indonesia (อินโดนีเซีย)
คำขวัญ: Bhinneka Tunggal Ika
(
ชวาเก่า/กาวี: "เอกภาพท่ามกลางความหลากหลาย")

เมืองหลวง
(และเมืองใหญ่สุด)
 - 
 - 
รองประธานาธิบดี
 - 
ประกาศ
 - 
เป็นที่ยอมรับ
 - 
รวม
 - 
4.85%
 - 
2548 (ประเมิน)
222,781,000 (4)
 - 
2543 (สำมะโน)
206,264,595 
 - 
116 คน/ตร.กม. (84)
302 คน/ตร.ไมล์
2548 (ประมาณ)
 - 
รวม
977.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (15)
 - 
4,458 ดอลลาร์สหรัฐ (110)
ดพม. (2546)
0.697 (กลาง) (110)
มีหลายเขต (UTC+7 to +9)
 - 
(DST)
not observed (UTC+7 to +9)
ซ้ายมือ
62

อินโดนีเซีย (อินโดนีเซีย: Indonesia) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (อินโดนีเซีย: Republik Indonesia) เป็นหมู่เกาะที่ใหญ่ที่สุดในโลก ตั้งอยู่ระหว่างคาบสมุทรอินโดจีนและทวีปออสเตรเลีย และระหว่างมหาสมุทรอินเดียและแปซิฟิก มีพรมแดนติดกับประเทศมาเลเซียบนเกาะบอร์เนียว (อินโดนีเซีย: Kalimantan) , ประเทศปาปัวนิวกินีบนเกาะนิวกินี (อินโดนีเซีย: Irian) และ ประเทศติมอร์ตะวันออกบนเกาะติมอร์ (อินโดนีเซีย: Timor)
เนื้อหา
·         6 อ้างอิง

[แก้] ประวัติศาสตร์


อินโดนีเซียประกอบด้วยหมู่เกาะที่มีความเจริญรุ่งเรืองมาช้านาน แต่ต่อมาต้องตกอยู่ภายใต้การปกครองของเนเธอร์แลนด์อยู่ประมาณ 301 ปี ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2485 ซึ่งเป็นช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2.1 ญี่ปุ่นบุกอินโดนีเซีย และทำการขับไล่เนเธอร์แลนด์เจ้าอาณานิคมของอินโดนีเซียออกไปได้สำเร็จ จึงทำให้ผู้นำอินโดนีเซียคนสำคัญในสมัยนั้นให้ความร่วมมือกับญี่ปุ่นแต่ไม่ได้ให้ความไว้วางใจกับญี่ปุ่นมากนัก เพราะมีเหตุเคลือบแคลงคือ เมื่อผู้รักชาติอินโดนีเซียจัดตั้งขบวนการต่างๆขึ้นมา ญี่ปุ่นจะขอเข้าร่วมควบคุมและดำเนินงานด้วย
เมื่อญี่ปุ่นแพ้สงครามและประกาศยอมจำนนต่อฝ่ายพันธมิตร อินโดนีเซียได้ถือโอกาสประกาศเอกราชใน พ.ศ. 2488 แต่เนเธอร์แลนด์เจ้าของอาณานิคมเดิมไม่ยอมรับการประกาศเอกราชของอินโดนีเซีย จึงยกกองทัพเข้าปราบปราม ผลจากการสู้รบปรากฏว่าเนเธอร์แลนด์ไม่สามารถปราบปรามกองทัพอินโดนีเซียได้ จากนั้นอังกฤษซึ่งเป็นพันธมิตรกับเนเธอร์แลนด์จึงเข้ามาช่วยไกล่เกลี่ยเพื่อให้ยุติความขัดแย้งกัน โดยให้ทั้งสองฝ่ายลงนามในข้อตกลงลิงกัดยาติ (Linggadjati Agreement) เมื่อ พ.ศ. 2489 โดยเนเธอร์แลนด์ยอมรับอำนาจรัฐของรัฐบาลอินโดนีเซียในเกาะชวาและสุมาตรา ต่อมาภายหลังเนเธอร์แลนด์ได้ละเมิดข้อตกลงโดยได้นำทหารเข้าโจมตีอินโดนีเซียทำให้ประเทศอื่นๆ เช่น ออสเตรเลีย และอินเดียได้ยื่นเรื่องให้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติเข้าจัดการ สหประชาชาติได้เข้าระงับข้อพิพาทโดยตั้งคณะกรรมการประกอบด้วย ออสเตรเลีย เบลเยียม และสหรัฐอเมริกา เพื่อทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยประนีประนอมและได้เรียกร้องให้หยุดยิง แต่เนเธอร์แลนด์ได้เข้าจับกุมผู้นำคนสำคัญของอินโดนีเซีย คือ ซูการ์โนและฮัตตาไปกักขัง ต่อมาทหารอินโดนีเซียสามารถช่วยเหลือนำตัวผู้นำทั้งสองออกมาได้ ในระยะนี้ทุกประเทศทั่วโลกต่างตำหนิการกระทำของเนเธอร์แลนด์อย่างยิ่งและคณะมนตรีความมั่นคงได้กดดันให้เนเธอร์แลนด์มอบเอกราชแก่อินโดนีเซีย
ในวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2492 อินโดนีเซียได้รับเอกราชแต่ความยุ่งยากยังคงมีอยู่เนื่องจากเนเธอร์แลนด์ไม่ยินยอมให้รวมดินแดนอิเรียนตะวันตกเข้ากับอินโดนีเซีย ทั้งสองฝ่ายจึงต่างเตรียมการจะสู้รบกันอีก ผลที่สุดเนเธอร์แลนด์ก็ยอมโอนอำนาจให้สหประชาชาติควบคุมดูแลอิเรียนตะวันตกและให้ชาวอิเรียนตะวันตกแสดงประชามติว่าจะรวมกับอินโดนีเซียหรือไม่ ผลการออกเสียงประชามติปรากฏว่าชาวอิเรียนตะวันตกส่วนใหญ่ต้องการรวมกับอินโดนีเซีย สหประชาชาติจึงโอนอิเรียนตะวันตกให้อยู่ในความปกครองของอินโดนีเซียเมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2506
[แก้] การเมืองการปกครอง
ประเทศอินโดนีเซียมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบสาธารณรัฐ มีประธานาธิบดีเป็นประมุขและทำหน้าที่ปกครองประเทศ
[แก้] การแบ่งเขตการปกครอง
ปัจจุบันประเทศอินโดนีเซียแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 30 จังหวัด (provinces - propinsi-propinsi) 2 เขตปกครองพิเศษ* (special regions - daerah-daerah istimewa) และ 1 เขตนครหลวงพิเศษ** (special capital city district - daerah khusus ibukota) โดยมีเมืองหลวงหรือเมืองหลักของแต่ละจังหวัด ได้แก่
·         เกาะชวา
o    เขตนครหลวงพิเศษจาการ์ตา**
o    เขตปกครองพิเศษย็อกยาการ์ตา*




จาการ์ตา เมืองหลวงและศูนย์กลางเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในอินโดนีเซีย
·         ป่าไม้ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าดงดิบ เป็นประเทศที่มีป่าไม้มากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ผลิตผลจากป่าไม้ส่วนใหญ่เป็นไม้เนื้อแข็ง
·         แร่ธาตุ แร่ธาตุที่สำคัญ ได้แก่ น้ำมันปิโตรเลียมทำรายได้ให้กับประเทศมากที่สุด อินโดนีเซียเป็นสมาชิกขององค์การประเทศผู้ส่งน้ำมันเป็นสินค้าออก
·         เกษตรกรรม มีการปลูกพืชแบบขั้นบันได พืชเศรษฐกิจ ได้แก่ข้าว ยาสูบ ข้าวโพด เครื่องเทศ
·         ประมง ลักษณะภูมิประเทศเป็นหมู่เกาะทำให้อินโดนีเซียสามารถจับสัตว์น้ำได้มาก
·         อุตสาหกรรม อุตสาหกรรมที่สำคัญ ได้แก่ การกลั่นน้ำมัน การต่อเรือ เป็นต้น
[แก้] ความสัมพันธ์กับประเทศไทย
ประเทศไทยและอินโดนีเซียมีความสัมพันธ์ทางการทูตที่ดีต่อกันมาโดยตลอด และให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน อินโดนิเซียเป็นสมาชิกสมาคมอาเซียนเหมือนประเทศไทย และมีสำนักงานใหญ่ขององค์การอาเซียนตั้งอยู่ที่กรุงจาการ์ตา

ข้อมูลทั่วไปอินโดนีเซีย ข้อมูลท่องเที่ยวอินโดนีเซีย ศิลปะ วัฒนธรรม อินโดนีเซีย

ข้อมูลทั่วไป ข้อมูลท่องเที่ยวอินโดนีเซีย

·          
·          
·          

รู้จักอินโดนีเซีย (Indonesia)
ชื่อประเทศ อินโดนีเซีย (Indonesia) หรือชื่อทางการคือสาธารณรัฐอินโดนีเซีย (Republic of Indonesia)
 
คำว่า "Indonesia" มาจาก "indos nesos" แปลว่า "หมู่เกาะใกล้อินเดีย" เนื่องจากเป็น หมู่เกาะในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกกับมหาสมุทรอินเดีย และระหว่างทวีปเอเชียกับออสเตรเลีย ทำให้อินโดนีเซีย สามารถควบคุมเส้นทางการติดต่อระหว่างมหาสมุทรทั้งสอง ผ่านช่องแคบสำคัญต่างๆ อาทิ ช่องแคบมะละกา ช่องแคบซุนดรา และช่องแคบล็อมบ็อก ซึ่งล้วนเป็นเส้นทางขนส่งน้ำมัน จากตะวันออกกลาง มายังประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเอเชียตะวันออก
 
ธงชาติ พื้นที่ 5,193,250 ตารางกิโลเมตร
แผนที่ อาณาเขต ทิศเหนือ ติดต่อกับทะเลจีนใต้ ติดรัฐซาราวัก และซาบาห์ ของมาเลเซีย ( มาเลเซีย ตอ.) ซึ่งอยู่บนเกาะบอร์เนียว ยาว ๑,๗๘๒ กม. ทิศใต้ ติดต่อกับมหาสมุทรอินเดีย ซึ่งคั่นระหว่างอินโดนีเซีย กับออสเตรเลียตอนเหนือ ทิศตะวันออก ติดต่อกับปาปัว นิวกินี ยาว ๘๒๐ กม. ทิศตะวันตก ติดต่อช่องแคบมะละกา และมหาสมุทรอินเดีย เมืองหลวง ประชากร ประมาณ 234 ล้านคน
ลักษณะภูมิประเทศ อินโดนีเซียมีรูปร่างคล้ายพระจันทร์หงายครึ่งซีก มีพื้นที่ 5,193,250 ตารางกิโลเมตร หรือใหญ่กว่าประเทศไทยประมาณ 10 เท่า เป็นพื้นดิน 2,027,087 ตารางกิโลเมตร และทะเล 3,166,163 ตารางกิโลเมตร อินโดนีเซียประกอบด้วยเกาะใหญ่น้อยกว่า 17,500 เกาะ แต่มีประชากรอาศัยอยู่เพียง 3,000 เกาะ รวมอยู่ในพื้นที่ 4 ส่วนคือ
1)
หมู่เกาะซุนดาใหญ่ (Great Sunda Islands) ประกอบด้วย เกาะชวา สุมาตรา กะลิมันตัน และสุลาเวสี 2) หมู่เกาะซุนดาน้อย (Lesser Sunda Islands) ประกอบด้วยเกาะเล็กๆ ทางตะวันออกของเกาะชวา มีเกาะบาหลี ล็อมบอก ซุมบาวา ฟอลเรส และติมอร์
3)
หมู่เกาะมาลุกุ (Maluku Islands) หรือหมู่เกาะเครื่องเทศ อยู่ระหว่างสุลาเวสีกับเกาะปาปัว 4) ปาปัว (Papua) อยู่บนเกาะนิวกินีทางตะวันตกของประเทศปาปัวนิวกินี ในบรรดาหมู่เกาะทั้งหมด มีเกาะขนาดใหญ่ 5 เกาะ ครอบคลุมพื้นที่ประมาณร้อยละ 90 ของประเทศ คือ
1)
กะลิมันตัน มีพื้นที่คิดเป็นร้อยละ 28 ของพื้นที่ทั้งหมด และครอบคลุมพื้นที่ 2 ใน 3 ของเกาะบอร์เนียว
2)
สุมาตรา มีพื้นที่คิดเป็นร้อยละ 24 ของพื้นที่ทั้งหมด
3)
ปาปัว มีพื้นที่คิดเป็นร้อยละ 22 ของพื้นที่ทั้งหมด และครอบคลุมพื้นที่ครึ่งหนึ่งด้านตะวันตกของเกาะนิวกินี
4)
สุลาเวสี มีพื้นที่คิดเป็นร้อยละ 10 ของพื้นที่ทั้งหมด
5)
ชวา และมาดูรา ครอบคลุมพื้นที่เพียงร้อยละ 7 ของพื้นที่ทั้งหมด แต่มีประชากรอาศัยอยู่ถึงร้อยละ 64 ของทั้งประเทศ อากาศร้อนชื้นแบบศูนย์สูตร มี 2 ฤดู คือ ฤดูแล้ง (พฤษภาคม-ตุลาคม) และฤดูฝน (พฤศจิกายน-เมษายน)
สภาพภูมิอากาศ มีสภาพอากาศแบบป่าฝนเขตร้อน มี 2 ฤดูคือ ฤดูแล้ง (เม.ย. ก.ย.) และฤดูฝน (ต.ค. มี.ค.) อุณหภูมิเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 21 – 33 ดีกรีเซลเซียส
ฤดูที่น่าเดินทางไปท่องเที่ยว สมารถเดินทางไปเที่ยวได้ทุกฤดู ช่วงเดือนสิงหาคมกับช่วงคริสต์มาสและปีใหม่นักท่องเที่ยวนิยมเดินทางไปเที่ยวค่อนข้างมาก
ภาษา ภาษาอินโดนีเซีย หรือ Bahasa Indonesiaศาสนา อินโดนีเซียมีศาสนาอิสลามเป็นศาสนา ประจำชาติ โดย ศาสนาอิสลาม 87% ศาสนาคริสต์ 9.5% ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู 1.8% ศาสนาพุทธ 1.3%การปกครอง ปกครองระบอบประชาธิปไตย แบบสาธารณรัฐ มีประธานาธิบดีเป็นประมุขและทำหน้าที่ปกครองประเทศ
สกุลเงิน รูเปียห์ (Rupiah)อัตราแลกเปลี่ยน อัตรอัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ ประมาณ 9,500 รูเปียห์ (มกราคม 2549)การแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ ประมาณ 2549)2549)รหัสโทรศัพท์ +62ประเพณีพื้นเมือง
ศิลปะการแสดงของอินโดนีเซีย ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หากมองเรื่องของนาฏศิลป์และศิลปะการแสดงแล้ว อินโดนีเซียเป็นประเทศหนึ่งที่มีวัฒนธรรมทางการแสดงอันเก่าแก่และมีลักษณะโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ของตนโดยมีพื้นฐานของวัฒนธรรมมุสลิมและฮินดูปรากฏอยู่เด่นชัดในศิลปะการแสดงของอินโดนีเซีย ศิลปะการแสดงที่เป็นเอกลักษณ์เด่นชัดของอินโดนีเซียและยังคงเป็นศิลปะประจำชาติที่เก่าแก่ที่สุดก็คือ ศิลปะการเชิดหนังหรือเชิดหุ่นภาษาชวาเรียกว่า วายัง” (Wayang)หรือเรียกเต็มชื่อว่าวายัง ปูร์วา” ( Wayang Purwa) “วายังแปลว่า เงาส่วนปูร์วาแปลว่าความเก่าแก่รวมกันจึงหมายถึงความเก่าแก่แห่งศิลปะการเชิดตัวหุ่นที่ทำจากหนังให้เกิดเป็นภาพเงาบนจอผ้า ในปัจจุบันคำว่าวายังมีความหมายทั่วไปว่าการแสดง

ดอก Moon Orchid (กล้วยไม้ราตรี) เป็นกล้วยไม้ในสายพันธุ์ของ Phalaenopsis เป็นดอกไม้ประจำชาติของ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย
 
<